วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระเกี้ยว

      พระเกี้ยวเป็นตราประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี    ความหมายว่า  "ศิราภรณ์ประดับยอดศีรษะ"   หรื อ  "จุลมงกุฎ"   ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับ   "มงกุฎ"   พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันมีความหมายว่า  "พระจอมเกล้าน้อย"   เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎจึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์  ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราพระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนข้าราชการ และหลังจากนั้นจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสภามหาวิทยาลัยลงมติจัดตั้ง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จึงรับเอาตราพระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายประจำรงเรียนด้วย   และเมื่อ  คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู  ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ก่อตั้งโรงเรียน  บดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 จึงได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน  
            


พระเกี้ยวแก้ว      แววเด่น          เป็นสง่า
       ดุจประภา            แพร้วเพริศ     เจิดสุกใส
       จุลมงกุฏ              รวมจิต            ร่วมดวงใจ
        ผูกหทัย            ให้บดินทร        เป็นหนึ่งเดียว



โดย อ.เยาวดี จันทรวงษ์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น