วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555



พระพุทธสัมฤทธิ์ศรีบดินทร
เพริศพิพิธองค์อินทร์ศรีสถาน
สถิตคู่บดินทรเดชาล้ำดวงมาลย์
พรประทานชัยรัตน์จรัสดล
บดินทรสี่ดินแดนพระพุทธศาสน์
อภิวาทองค์พระพุทธดุจฤทธิผล
อำนวยพรชาญชัยประสานพล
มิ่งการุญคู่คนดีศรีบดินทร


อ.เยาวดี  จันทรวงษ์

พระเกี้ยว

      พระเกี้ยวเป็นตราประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี    ความหมายว่า  "ศิราภรณ์ประดับยอดศีรษะ"   หรื อ  "จุลมงกุฎ"   ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับ   "มงกุฎ"   พระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันมีความหมายว่า  "พระจอมเกล้าน้อย"   เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่าพระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎจึงได้ใช้พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎวางบนเบาะเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์  ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราพระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนข้าราชการ และหลังจากนั้นจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสภามหาวิทยาลัยลงมติจัดตั้ง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จึงรับเอาตราพระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายประจำรงเรียนด้วย   และเมื่อ  คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู  ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ก่อตั้งโรงเรียน  บดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 จึงได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน  
            


พระเกี้ยวแก้ว      แววเด่น          เป็นสง่า
       ดุจประภา            แพร้วเพริศ     เจิดสุกใส
       จุลมงกุฏ              รวมจิต            ร่วมดวงใจ
        ผูกหทัย            ให้บดินทร        เป็นหนึ่งเดียว



โดย อ.เยาวดี จันทรวงษ์





เจ้าพระยาบดินทรเดชา

สดุดีวีรบุรุษผู้แก่กล้า
เจ้าพระยาบดินทรเดชานำวิถี
ปราบข้าศึกมิให้มาราวี
สร้างคนดีอยู่คู่แคว้นดินแดนไทย



โดย อ.เยาวดี    จันทรวงษ์

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

                           
         
ปูชนีย์ปกเกล้าเหล่าบดินทร
มิ่งขวัญถิ่นแดนล้านนาสมัย
ร่มศิระแห่งครูบาศรีวิชัย
ดับเภทภัยกอปรพฤติวิกฤตการณ์
บดินทรสี่ขจรหล้าด้วยเกียรติยศ
น้อมประณตบทครูผู้สืบสาน
จักธำรงเกียรติก้องกังวาน
ให้ตำนานประจักษ์ถึงศักดา



                                                          โดย อ.เยาวดี จันทรวงษ์